วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า

เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน



1


2

3

4

5

6

7

8

ติดตาม facebook

ติดตาม facebook

youtube

แนวข้อสอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล



รายละเอียดวิชาที่สอบ #
แนวข้อสอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล
1 ความสามารถทางด้านเหตุผล
2 ความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3 ความสามารถด้านภาษาไทย
4 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
5 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
6 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
7 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
8 สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
9 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับ
แนวข้อสอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล ที่ https://www.facebook.com/269235540110385


แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

พนักงานมหาวิทยาลัยไทย

ประวัติ

ในอดีตมีการกำหนดให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในสถาบันอุดมศึกษา มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2507[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับข้าราชการ สาย ก. และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สำหรับข้าราชการ สาย ข. และ สาย ค. ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งมีนายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน[2] จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย ทดแทนอัตราข้าราชการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ขึ้น จึงมีการกำหนดเกี่ยวกับพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันในสถาบันอุดมศึกษาไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว โดยสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จะใช้การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยทดแทนอัตราข้าราชการเดิม ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัย มีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และตำแหน่งผู้บริหารเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[3]

คุณสมบัติของบุคคลที่จะบรรจุเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

ผู้ที่จะบรรจุเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และไม่มีลักษณะต้องห้ามลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

ประเภท

พนักงานมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
  • (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่
  • (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่
    • อธิการบดี
    • รองอธิการบดี
    • คณบดี
    • หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    • ผู้ช่วยอธิการบดี
    • รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    • ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
  • (ค) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่
    • ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
    • ระดับเชี่ยวชาญ
    • ระดับชำนาญการพิเศษ
    • ระดับชำนาญการ
    • ระดับปฏิบัติการ
  • (ง) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่
    • ระดับชำนาญงานพิเศษ
    • ระดับชำนาญงาน
    • ระดับปฏิบัติงาน

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย นั้น เนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีการปรับปรุงบัญชี 18 [4] ของระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 [5] ซึ่งเป็นเกณฑ์การขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีลักษณะพิเศษ โดยให้รวมถึงบุคลากรประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย ตามบัญชี 18
ดังตัวอย่างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
1. พนักงานมหาวิทยาลัยที่จะเสนอขอพระราชทานได้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินอุดหนุน ซึ่งจ้างจากเงินงบประมาณแผ่นดิน และพนักงานมหาวิทยาลัยหมวดเงินทุนคณะ (เงินรายได้) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการจ้างในระบบพนักงานมหาวิทยาลัย เท่านั้น
2. ตามร่างบัญชี 18 ลำดับที่ 1 ตำแหน่ง “ประจำแผนก” หมายความถึง ตำแหน่งที่บรรจุโดยใช้วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนตำแหน่งที่ใช้วุฒิ ปวช. และ ปวส. บรรจุก็สามารถขอพระราชทานได้หากมีเวลาราชการครบตามเกณฑ์ และได้รับเงินเดือนถึงขึ้นต่ำของวุฒิปริญญาตรีที่ใช้ในการบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัย
3. ในการขอพระราชทานเครื่องราชฯ นั้น ต้องคำนึงถึงผลของการปฏิบัติงานด้วย เนื่องจากข้อ 10 (2) ของระเบียบฯ ดังกล่าวได้กำหนดคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ไว้ดังนี้
“เป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง”

เครื่องแบบพนักงานมหาวิทยาลัย

เครื่องแต่งกายของพนักงานมหาวิทยาลัยในงานพิธีต่างๆ มีการกำหนดขึ้นในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาตามแต่ความเหมาะสมแตกต่างกันไป อ้างอิงจากเครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบเต็มยศหรือครึ่งยศของข้าราชการพลเรือนทั่วไป โดยปกติจะมีข้อแตกต่างที่ดวงตรา สัญลักษณ์ และอินทรธนู ที่จะเปลี่ยนไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ตรามหาวิทยาลัยและดอกกันภัยมหิดลบนอินทรธนู [6] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องแบบของสตรีไปใช้เสื้อคล้ายแบบบุรุษ [7] มหาวิทยาลัยพะเยา[8] เป็นต้น

ข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน

สถาบันอุดมศึกษาข้าราชการพลเรือน ในสถาบัน อุดมศึกษาพนักงานมหาวิทยาลัยพนักงานราชการลูกจ้างประจำลูกจ้างชั่วคราวอื่นๆรวม[10]
1. มหาวิทยาลัยของรัฐ (16 แห่ง)17,36624,3381,0774,81611,9503,86863,415
2. มหาวิทยาลัยในกำกับ (14 แห่ง)6,24425,559477,65210,8049,54259,848
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏ (40 แห่ง)5,42713,0778739508,08118428,592
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคล (9 แห่ง)
4,6123,0184078224,5606713,486
รวม33,64965,9922,40414,24035,39513,661165,341
จำนวนเปอร์เซ็นต์20.35%39.91%1.45%8.16%21.41%8.26%100.00%

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล
การสอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล แนวการสอบคล้ายๆ ข้อสอบ ก.พ. มีความรู้ทั่วไป อนุกรม ภาษาไทย อังกฤษ ฯ  ส่วนข้อสอบเฉพาะตำแหน่งก็จะเป็นพวกระเบียบงานสารบรรณ งานธุรการทั่วไป การพิมพ์หนังสือราชการ  ในส่วนลักษณะงานก็แล้วแต่หน่วยงานที่สังกัด ว่าจะมอบหมายงานแบบไหนให้ ส่วนมากก็จะทำเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ  พิมพ์เอกสารหนังสือราชการ  ดูแลระบบสารสนเทศ ฯ
แนวข้อสอบ
ข้อสอบ มันจะมีหลายส่วน  ถ้าส่วนทั่วไป มักจะเอาข้อสอบ ภาค ก มา และนำข้อสอบอื่นๆ เช่น ความรู้ในตำแหน่งงาน ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.หรือกฎหมาย/ข้อบังคับ/ระเบียบที่เกี่ยวกับพนักงานมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่คุณกำลังไปสอบ ภาษาอังกฤษ  ส่วนแนวข้อสอบเขามักจะถามว่า
- ถ้าคุณเป็นเจ้าหน้าที่ คุณคิดว่าควรมีภาระงานอะไร...
- การทำงานร่วมกับคนร้อยพ่อพันแม่ จะแก้ปัญหาในที่ทำงานอย่างไร
- ส่วนการคำนวณ ก็จะออกให้คนใน สังเกตได้ ออกข้อสอบเฉพาะบุคคล เราต้องอ่าน การประเมินของ สกอ. สมศ. ที่มีสูตรการคำนวณ การคิดค่าต่างๆ...
-บางทีออกเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน พวกmis ....
-บางทีให้เขียนโครงการ....
-บางทีให้เขียนจดหมายเชิญ
-บางทีให้เขียนบันทึกข้อความ
-บางทีถามงานสารบรรณ...
-ครุฑมีกี่แบบ ความเร็วชั้นหนังสือราชการ
ความลับ...
-ประเภทของหนังสือราชการ...
และให้อ่านในเว็ปมหาลัยนั้นๆ เพราะข้อสอบเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยบางแห่งจะออกเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยด้วย   เช่น   ตั้งปีไหน สีประจำม. ผู้สถาปนา เป็นต้น)  บางทีก็ออกเรื่องหลักสูตร บางทีออกขั้นตอนสหกิจ    บางทีก็ออกแบบว่าให้ทำexcel

ส่วนภาค ข (ข้อสอบเกี่ยวกับตำแหน่งงาน) ส่วนใหญ่ที่ผมเจอจะเป็นอัตนัย ให้เขียนบรรยายหรือเรียงความในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน อาจจะให้ร่างประกาศหรือร่างจดหมายด้วย

ภาค ค จะเป็นการสัมภาษณ์ อันนี้มาจากบุคลิกภาพและความฉลาดทั้งสติปัญญาและอารมณ์ของคุณล้วนๆ  พยายามตอบรับถ้าเขาถามว่าคุณสามารถทำงานนี้ได้ไหม (ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากได้งานนี้มากน้อยแค่ไหน) อย่าพยายามแสดงถึงข้อเสียหรือข้อแม้ของคุณ และสุดท้ายก็เรื่องความมั่นใจและกาละเทศะด้วย  ตอบชัดถ้อย ใช้คำเป็นทางการพยายามใช้คำว่าบูรณาการ คำศัพท์กินใจ   พูดตามกรอบเวลา    บางทีให้แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ

หลักสูตรที่ใช้สอบพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฎ ราชมงคล    มีดังนี้คือ
1. ทดสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป  (100  คะแนน)
1.1วิชาคอมพิวเตอร์(ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ)
1.2วิชาภาษาอังกฤษ (การใช้ภาษาอังกฤษ)
2. ทดสอบภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง  (100  คะแนน)
3. ทดสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์ ) (100  คะแนน)  วัดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ประวัติส่วนตัว ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น

รายละเอียดวิชาที่สอบ พนักงานมหาลัย
1 ความสามารถทางด้านเหตุผล
2 ความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3 ความสามารถด้านภาษาไทย
4 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
5 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
6 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
7 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
8 สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน
9 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม

ตำแหน่งที่สอบ พนักงานมหาลัย
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
นักเอกสารสนเทศ
พนักงานการเงินและบัญชี
พนักงานธุรการ
พนักงานบริการนักศึกษา

รายละเอียดวิชาที่สอบ ม.ราชมงคล
1 แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
2 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548
3 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ
4 แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547
5 สรุปสาระสำคัญระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
6 แนวข้อสอบ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ตำแหน่งที่สอบ รายละเอียดวิชาที่สอบ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นักการศึกษาปฎิบัติการ
นักประชาสัมพันธ์

รายละเอียดวิชาที่สอบ ราชภัฏ
1 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2 แนวข้อสอบรู้ความสามารถทั่วไป
3 แนวข้อสอบภาษาไทย
4 แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ
5 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
6 แนวข้อสอบ พรบ.พระราชกฤษฎีกาบ้านเมืองที่ดี 2546
7 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
8 แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
9 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  พ.ศ. 2547

ตำแหน่งที่สอบ  ราชภัฏ
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นักเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิชาการศึกษา
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
นักวิทยาศาสตร์
นักวิเทศสัมพันธ์
นักเอกสารสนเทศ
นิติกร
บรรณารักษ์